วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เพลง What I've Done



เพลง what I've Done

In this farewell,
ในการจากลาครั้งนี้ 
there's no blood,
ไร้ซึ่งเลือดไหลริน 
there's no alibi.
ไร้ซึ่งคำแก้ตัว 
Cause I've drawn regret,
เพราะข้าได้สำนึกเสียใจแล้ว
from the truth, of a thousand lies.
ในความจริงแห่งคำลวงนับร้อยพัน 
So let mercy come,
ฉะนั้น ขอให้ความเมตตา
and wash away...
จงโปรดชำระล้าง...
What I've done,
สิ่งที่ข้าทำลงไป 
I'll face myself,
ข้ายอมเผชิญหน้าตัวเอง
To cross out
What I've become,
เพื่อแก้ไข ที่ข้ากลายเป็นไป
Erase myself,
ลบล้างตัวข้าเอง 
And let go of
What I've done.
เพื่อสารภาพ
ในสิ่งที่ข้าได้ทำลงไป
Put to rest,
หยุดเถอะ 
what you thought of me.
อะไรทั้งหลายที่ท่านคิดต่อข้า
Well I clean this slate,
ข้ายอมล้างกระดานทั้งหมดนี้ 
with the hands of uncertainty
ด้วยมือที่ไร้ซึ่งความมั่นคง
So let mercy come,
and wash away...
แล้วขอให้ความเมตตา 
จงโปรดชำระล้าง...
What I've done,
สิ่งที่ข้าทำลงไป 
I'll face myself,
ข้ายอมเผชิญหน้าตัวเอง 
To cross out
What I've become,
เพื่อแก้ไข ที่ข้ากลายเป็นไป 
Erase myself,
ลบล้างตัวข้าเอง
And let go of What I've done.
เพื่อสารภาพ ในสิ่งที่ข้าได้ทำลงไป 
For what I've done,
กับสิ่งที่ข้าได้ทำลงไป 
I start again.
ข้าได้กระทำซ้ำลงไปอีกครั้งเสียแล้ว 
And whatever pain may come,
และความเจ็บปวดใดๆที่ข้าได้รับ
Today this ends,
I'm forgiving...
วันนี้ ขอให้มันสิ้นสุดเถิด
ขอให้ข้าได้รับการอภัย
What I've done,
จากสิ่งที่ข้าทำลงไป 
I'll face myself,
ข้ายอมเผชิญหน้าตัวเอง 

To cross out
What I've become,
เพื่อแก้ไข ที่ข้ากลายเป็นไป
Erase myself, And let go of
What I've done.
ลบล้างตัวข้าเอง เพื่อสารภาพ
ในสิ่งที่ข้าได้ทำลงไป
What I've done,
Forgiving what I've done.
ให้อภัยในสิ่งที่ข้าทำไป

วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555


การกำหนดขอบเขตเนื้อหา โปรเจ็ค เรื่องเครื่องเสียงรถยนต์

1. ประวัติความเป็นมาของเครื่องเสียงรถยนต์
2. ชนิดของเครื่องเสียงรถยนต์
       2.1 แบบใช้ทรานซิทเตอร์
       2.2 แบบใช้มอสเฟท
       2.3 แบบใช้ IC (INTERGRATED AMPLIFIER)
3. ระบบการทำงานของเครื่องเสียงรถยนต์
       3.1 การทำงานด้วยระบบโมโน
       3.2 การทำงานด้วยระบบสเตอริโอ
       3.3 การทำงานด้วยระบบซิงเกิ้ลแอมป์ (Single Amp)
       3.4 การทำงานด้วยระบบไบแอมป์   (Bi Amp)
       3.5  การทำงานด้วยระบบไตรแอมป์  (Tri Amp)
4. ระบบไฟของเครื่องเสียงรถยนต์
5. สรุป

วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เขียนบรรณานุกรมจากบทความวารสาร

อาภา อารีย์สมบูรณ์, ประเสริฐ อัครประถมพงศ์.(2554).การปรับปรุงสมรรถนะการดำเนินงานบริการ สำหรับบริษัทรับจัดหาแรงงาน.
             วารสารวิศวกรรมศาสตร์, 3 (1), 1-16
สุเจน กรรพฤทธิ์.(2554).“จักรยานสีขาว” ที่ศาลายา.
             วารสารสารคดี, 27 (313)

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

การประเมินเว็บไซต์

การประเมินเว็บไซต์

https://docs.google.com/document/d/1YEb3bGjHi_EjW814tFw8TVL5HwGg9r9X3HEDJpjuq6Y/edit?pli=1

สถานที่สำคัญในมิวสิควีดีโอ


สถานที่สำคัญในมิวสิควีดีโอ
วิหารพาร์เธนอน 1วิหารพาร์เธนอน 2
วิหารพาร์เธนอนเป็นวิหารที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่เทพีอาธีนาซึ่ง ซึ่งเป็น เทพีประจำเมืองเอเธนส์แต่ไหนแต่ไรมา คำว่า “พาร์เธนอน” แปลว่าห้องแห่งเทพีพหรมจารี (Hall of the virgin goddess) วิหารโบราณแห่งนี้มีความเก่าแก่มากกว่า 2,600 ปี ตั้งอยู่อะโครโปลิส (แปลว่าจุดสูงสุดของเมือง) ใจกลางกรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ ซึ่งแม้ว่าวิหารพาร์เธอนอนจะเหลือเพียงแต่ซากปรักหักพัง แต่เราก็ยังสามารถที่จะจินตนาการถึงความยิ่งใหญ่ในอดีตได้เป็นอย่างดี
เนินอะโครโปลิสที่เป็นที่ตั้งของวิหารพาร์เธนอนนี้อยู่บนเนินเขาพัลลาส(Pallas) ซึ่งสูงจากพื้นราบ 60-70 เมตร พื้นที่บนยอดเขาประมาณ 45,000 ตารางเมตร ตั้งแต่ประมาณศตวรรษที่ 14 ก่อน คริสต์กาล (1,400 ปี ก่อน คริสต์กาล) ก็มีการสร้างพระราชวังบนเนินแห่งนี้แล้ว โดยที่วิหารพาร์เธนอนที่เห็นเป็นซากอยู่ในปัจจุบันเป็นวิหารรุ่นที่ 3 ที่สร้างทับซ้อนบนรากฐานเดิมของวิหารรุ่นที่ 2 ก่อนหน้า วิหารรุ่นแรกนั้นสร้างเมื่อประมาณ 500 กว่าปี ก่อนคริสต์กาล และได้พังทลายลงไป จึงได้มีการเริ่มสร้างรุ่นที่ 2 ขึ้นในปี 490 ก่อนคริสต์กาล แต่เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดเพราะได้ถูกกองทัพของพวกเปอร์เซียเผาทำลายไปอีกครั้งหนึ่ง ตั้งแต่ยังก่อสร้างไม่เสร็จดี   แต่ว่าชาวเอเธอส์ก็ยังไม่ละความพยายามในการสร้าง วิหารพาร์เธนอนจึงเริ่มก่อสร้างอีกครั้งเป็นรุ่นที่ 3  ประมาณช่วงปี 447 ก่อน ค.ศ. ซึ่งนับเวลาจนกระทั่งถึงตอนนี้ก็ ประมาณ 2,500 ปี เห็นจะได้
ตำแหน่งที่ตั้ง วิหารพาร์เธนอน ประเทศ กรีซ
วิหารพาร์เธนอนเป็นสถาปัตยกรรมแบบดอริคที่งดงามสมบูรณ์แบบทั้งโครงสร้างและสัดส่วน และภาพสลักที่ประดับทับหลังเหนือหัวเสา แม้ปัจจุบันจะเหลือเพียงแค่โครง แต่ก็ไม่ยากที่จะจินตนาการว่าในอดีตตอนที่สร้างเสร็จใหม่ๆ วิหารพาร์เธนอนนี้จะสวยงามเพียงใด
เทพีอธีนาแห่งวิหารพาร์เธนอน
เทพีอธีนาแห่งวิหารพาร์เธนอน
วิหารพาร์เธนอนถูกสร้างขึ้นด้วยหินอ่อน ขนาดยาวประมาณ 70 เมตร กว้าง 30 เมตร ด้านกว้างประกอบด้วยด้วยเสา 8 ต้น ด้านยาว 17 ต้น เสาแต่ละต้นสูง 10.5 เมตร ลักษณะของเสาเป็นลักษณะเฉพาะคือจะปล่องออกตรงกลางซึ่งเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 2 เมตร และ ตรงปลายทั้งสองด้านเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับ 1.5 เมตร โดยในการก่อสร้างเสาแต่ต้น ชาวเอเธนส์จะแบ่งเสาเป็นข้อๆ เหมือนเค๊ก แล้วมาวางซ้อนกัน 10 -12 ชั้น
อย่างที่ได้บอกไปแล้วว่าวิหารพาร์เธนอนที่เห็นอยู่ในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นเป็นรุ่นที่ 3 โดยมันถูกสร้างเมื่อปี 447 ก่อน ค.ศ. และไปแล้วเสร็จในปี 438 ก่อน ค.ศ. แต่ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เหมือนตามที่ผู้สร้างตั้งใจไว้ จึงใช้เวลาอีก 5 ปีในการแกะสลักรูปปั้นเพื่อไปประดับ วิหารพาร์เธนอนอีก รวมระยะเวลาที่ใช้ทั้งหมด ก็ 14 ปี
ภาพสลักประดับทับหลังเหนือหัวเสาและหน้าบันไดนั้น เป็นภาพที่มีความประณีตเป็นเลิศ โดยภาพแต่ละภาพจะเป็นเรื่องราวของชัยชนะของชาวเอเธนส์ในสงครามต่างๆ ทั้งในสงครามที่เป็นเทพนิยาย และสงครามที่เกิดขึ้นจริง เช่นทางด้านทิศเหนือของ วิหารพาร์เธนอน เป็นสงครามระหว่างชาว เอเธนส์และทรอย (มีการมาทำเป็นหนังเรื่องทรอยที่นำแสดงโดย แบรด พิต) ซึ่งสงครามที่ว่าเกิดขึ้นในช่วง ศตวรรษที่ 16 ก่อน ค.ศ. ส่วนด้านทิศใต้เป็นภาพสงครามระหว่าง เซนทอร์(สัตว์ในตำนาน มีลักษณะครึ่งคนครึ่งม้า) กับชาว ลาพิธ  ส่วนในด้านหน้าจั่วทิศตะวันออกเป็นภาพของกำเนิดของเทพีอธีนา ที่เกิดจากเศียรของมหาเทพอย่าง ซุส (Zeus) ส่วนหน้าจั่วด้านตะวันตกของ วิหารพาร์เธนอน เป็นภาพการชิงชัยระหว่าง โพไซดอน และ อธีนา โดยภาพมนด้านหน้าจั่วทั้งสองด้าน เป็นภาพที่ถูกทำขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนของเดิม ซึ่งภาพของจริงนั้น ท่านลอร์ดเอลจิน เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำอาณาจักรไบแซนไทน์ระหว่างปี ค.ศ. 1799 – 1803 ได้นำไปอังกฤษโดยความยินยอมของสุลต่านแห่งคอนสแตติโนเปิล ซึ่งมีอำนาจเหนือ เอเธนส์ในขณะนั้น
ภายในห้องบูชาแห่ง วิหารพาร์เธนอน เคยมีรูปเทพีอธีนาขนาดมหึมาประดิษฐานอยู่ จากบันทึกประวัติศาสตร์ของพอซาเนียส และรูปจำลองเทพี อธีนาขนาดเล็ก ทำให้รู้ว่ารูปปั้นเทีอธีนานั้นประทับยืนบนแท่นสูงประมาณ 12 เมตร โครงทำจากไม้ ส่วนเนื้อหนังที่โผล่พ้นเสื้อผ้าออกมานั้นบุด้วยงาช้าง ส่วนผ้านั้นก็บุด้วยทองคำบริสุทธิ์ทีหนักกว่า 1,150 กรัม ส่วนที่ฐานของรูปปั้นก็สลักเป็นภาพตำนานกำเนิดแพนโดรา ซึ่งรูปปั้นอธีนานี้ก็หายสาปสูญไปจาก วิหารพาร์เธนอน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ขณะอยู่ภายใต้การยึดครองของอาณาจักรไบแซนไทน์  ปัจจุบันในห้องบูชาของ วิหารพาร์เธนอน เหลือแต่ฐานขนาด 4 x 8 เมตร ตรงกลางมีรูสี่เหลี่ยม
สำหรับเสียบแกนรูปปั้นเท่านั้น
วิหารพาร์เธนอน3
วิหารพาร์เธนอนอันเก่าแก่แห่งนี้ได้ยืนหยัดผ่านกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงมาหลายยุคหลายสมัย ผ่านร้อนผ่านหนาว สันติและสงคราม การบูชาและการฆ่าฟัน ความรุ่งเรืองและความเสื่อม การบูรณะและ
การบูรณะวิหารพาร์เธนอน
การบูรณะวิหารพาร์เธนอนในปี 2010
ความพินาศ ตั้งแต่สงครามกับชาวเปอร์เซีย (ปี 480 ก่อน ค.ศ.) ซึ่งพาร์เธนอนรุ่นที่ 2 ถูกเผาพินาศ สงครามระหว่าง กรีกและโรมัน (ปี 86 ก่อน ค.ศ.) ซึ่งนักรบชาวเอเธนส์ถูกสังหารหมู่บน วิหารพาร์เธนอน
วิหารพาร์เธนอน ผ่านการเปลี่ยนแปลงความเชื่อทางศาสนาที่เปลี่ยนจาก การบูชาเทพเจ้าไปสู่โบสถ์คริสต์ศาสนา และในสมัยอาณาจักรไบแซนไทน์ วิหารพาร์เธนอน ได้ถูกเปลี่ยนเป็นป้อมปราการที่มั่นคงของพวกแฟรงค์และละติน และถูกเปลี่ยนเป็นสุเหร่าในช่วงยุคของพวกเติร์ก ในขณะที่บางส่วนของ วิหารพาร์เธนอน ก็ถูกเปลี่ยนเป็นคลังเก็บกระสุนปืนใหญ่ จนทำให้เกิดการระเบิดทำให้ตัวของ วิหารพาร์เธนอน ได้รับความเสียหายจนกลายเป็นซากปรักหักพัง ในปี 1687 ทั้งนี้การบูรณะวิหารพาร์เธนอนได้เริ่มทำตั้งแต่ปี 1841 และมาเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 1900
วิหารพาร์เธนอน ถูกบูรณะครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 2004 เนื่องมาจากที่ประเทศกรีซได้รับเลือกเป็นเจ้าจัดกีฬาโอลิมปิก ซึ่งมีพิธีเปิดที่วิหารพาร์เธนอน
ในปี ค.ศ. 1987 UNESCO ได้ประกาศให้ วิหารพาร์เธนอน เป็นมรดกโลก